วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

    ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กวัย 0-6 ปี เกิดจากการที่เด็กใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 ใน การดู ดม ได้ยิน ชิมรส รับรู้สัมผัสทางกาย เข้าไปสัมผัสสิ่งต่างๆ คุณสมบัติในการถ่ายทอดความหมายของสิ่งนั้นได้ชัดเจนและสื่อที่เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ได้ดีท่สุด คือ สื่งที่เป็นของจริง สิ่งสำคัญของสื่อ คือ จะต้องสามารถอธิบายความหมายของสิ่งที่ต้องการให้ได้ชัดเจนและมีความเป็นรูปธรรม
     สื่อสามารถช่วยอธิบายความหมายต่างๆ ให้เป็นรูปธรรมมากที่สุดและมีความจำเป็นมากสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีปนะสบการณ์น้อยครูปฐมวัยจำเป็นที่จะต้องเลือกสื่อ และนำสื่อมาใช้ในการจักการเรียนรู้ให้เหมาะสมที่สุด
ความหมายของสื่อ
     ความหมายของสื่อโดยทั่วๆ ไป หมายถึง เครื่องมือที่เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่่อสารกัน สื่อถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางนำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร เพราะว่าการที่ผู้ส่งสารต้องการส่งสารออกไปยังผู้รับแต่ไม่มีสื่อ การสื่อสารนั้นย่อมไม่เกิดขึ้น
คุณค่าของสื่อการสอน
     1) สื่อกับผู้เรียน
          (1) เป็นสิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
          (2) สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน
          (3) การใช้สื่่ิอจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน
          (4) ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น
     2) สื่อกับผู้สอน
          (1) การใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบการเรียนการสอน เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น
          (2) สื่อจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหา เพราะบางครั้งอาจให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
          (3) เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลิตวัสดุใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นสื่อการสอน
 หลักการเลือกสื่อการสอน
          1. สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
          2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที่ส่งผลต่อการเรียนรู้มากที่สุด
          3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
          4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้วิธีไม่ยุ่งยากซับซ้อนเกินไป
          5.เป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนเป็นจริง
          6. มีราคาไม่แพงเกินไป หรือถ้าจะผลิตควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
การจัดประเภทสื่อ
     นักวิชาการได้มีการแบ่งประเภทของสื่อออก ออกหลากหลาย ความคิดเห็น บางควาคิดเห็น แบ่งตามที่มาของสื่อ บางความคิดเห็นตามลักษณะและวัตถุประสงค์ที่ใช้
     1. การแบ่งตามแหล่งที่มาของสื่อ
          1.1 สื่อที่เป็นบุคคล เป็นสื่อที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้ที่ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวต่างๆ ในการเรียนรู้
          1.2 สื่อที่มาจากสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ผู่ใช้ไม่จำเป็นจะต้องจัดหาหรือทำขึ้น เพราะมีอยู่แล้วธรรมชาติ
          1.3 สื่อที่ต้องจัดทำขึ้น สื่อชนิดนี้มีมากมายหลายชนิด ได้แก่ ของจำลอง ภาพถ่าย ภาพวาด บัตรคำ เกม กิจกรรม เป็นต้น
          1.4 สื่อที่จัดซื้อ จัดหา ผู้สอนไม่สามารถจักทำขึ้นเองได้และเป็นสื่อที่มีความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์
     2. การแบ่งตามลักษณะของสื่อ
          2.1 สื่อการสอนประเภทวัสดุ หมายถึง สื่อการสอนที่เป็นวัตถุที่มีการสิ้นเปลือง ใช้แล้วหมดไป หรือผุพังได้ง่าย
          2.2 สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ หมายถึง สิ่งช่วยสอนหรือสื่อการสอนประเภทที่เป็นเครื่องมือที่ครูนำมาใช้ในการสอน
          2.3 สื่อการสอนประเภทวิธีการ สื่อการสอนประเภทวิธีการหรือกระบวนการ เป็นสื่อการสอนที่มีเรื่องของกระบวนการเข้าไปร่วมด้วย
     3. การแบ่งตามรูปร่างลักษณะของสื่อ
          3.1 ภาพนิ่ง
          3.2 การบันทึกเสียง
          3.3 ภาพเคลื่อนไหว
          3.4 โทรทัศน์
          3.5 ของจริง สถานการณ์จำลอง และหุ่นจำลอง
          3.6 การสอนแบบโปรแกรมและคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
     4. การแบ่งตามลักษณะการนำสื่อไปใช้
          เอดการ์ เดล ได้จัดแบ่งการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้ และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้
     ลักษณะสื่อที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัย
          เด็กปฐมวัยเปีนวัยที่ต้องดูแล และทะนุถนอม เนื่องจากเด็กไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และไม่สามารถที่จะระมัดระวังตนได้ในการเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ สื่อที่ใช้กับเด็กปฐมวัยจะต้องพิจารณาอย่างมากในด้านความปลอดภัย ลักษณะของสื่อ ที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยควรมีลักษณะ
     1. มีความปลอดภัย สื่อที่จะสร้างขึ้นหรือเลือกให้เด็ก ครูควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก
     2. คำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กได้รับ เหมาะสมกับความสมารถ ความสนใจของเด็ก
     3. ความประหยัด
     4. ด้านประสิทธิภาพ
สื่อที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง
          สื่อเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด สื่อจะช่วยทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมที่เด็กเข้าใจยาก มาสู่รูปธรรมที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น สื่อจะช่วยให้เรียนได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน รวดเร็ว และจำได้แม่นยำ ดังนั้นสื่ิอจึงมีความสำคัญและจำเป็นมากสำหรับเด็กปฐมวัย
ลักษณะของสื่อ ประกอบด้วย
     1.กรเลือกสื่อ บางประเภทไว้ใช้ประโยชน์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
         1. เพลง
           - เพลงประกอบกิจกรรม
           - เพลงผ่อนคลาย
           - เพลงกระตุ้นการเรียนรู้
           - เพลงพื้นบ้าน
           - เพลงที่มีความหลากหลายทางดนตรี
         2.เครื่องดนตรีที่ใช้มือเล่นทั้งสองข้าง
         3.หนังสือ
           - หนังสือพยัญชนะ
           - หนังสือภาพที่ไม่มีข้อความหรือตัวหนังสือ
           - หนังสือที่สามารถคาดเหตุการณ์หรือเนื้อหาได้ล่วงหน้า
           - หนังสือที่เป็นเรื่องราว มีข้อความบรรยาย
     2.สื่อและแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยที่เหมาะสม
          1.สื่อ โรงเรียนได้จัดแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
           -สื่อประเภทจัดหาได้ เช่น วัสดุจากธรรมชาติ วัสดุเหลือใช้
           -การผลิตสื่อได้มีการผลิตสื่อ เช่น รูปภาพประกอบตามหน่วยการเรียนรู้ เกมการศึกษา
           -การจัดซื้อ การจัดซื้อจากงบประมาณสื่อปฐมวัยต้นแบบ
          2.แหล่งเรียนรู้ โรงเรียนได้กำหนดแหล่งเรียนรู้เป้นบุคคล สถานที่ เช่น ห้องสมุด วัด ร้านค้า ธนาคาร สาธารณสุขอำเภอ เป็นต้น
          3.การจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้จากสื่อและแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
          4.การสรุปผลและประเมินผล หลังจากไปเรียนรู้จากสื่อและแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนกลับมาแล้ว ครูควรจะต้องดำเนินการให้เด็กร่วมกันสรุปผลสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
    การประเมินการใช้สื่อ
         1. สื่อนั้นช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
         2. เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
         3. สื่อช่วยให้การสอนนั้นสอนได้ตรงกับจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
         4. สื่อนั้นช่วยให้เด็กสนใจมากน้อยเพียงใด และสนใจเพราะเหตุใด
     การเก็บรักษาและการซ่อมแซมสื่อ
         1. ควรตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้ง ว่ามีสภาพสมบูรณ์ จำนวนครบถ้วนหรือไม่
         2. ควรฝึกให้เด็กช่วยกันเก็บรักษาสื่อของครู
         3. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่ ตามลักษณะ ตามประเภทของสื่อ
         4. ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เอง และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยทุกครั้ง
         5. ควรซ่อมแซมสื่อที่ชำรุด และทำเติมส่วนที่ขาดหายไปให้ครบชุด
      ประโยชน์ของสื่อสร้างสรรค์
        1. หลักการเลือกสื่อสร้างสรรค์
         1.1 ประโยชน์
         1.2 ประหยัด
         1.3 ประสิทธิภาพ
        2. ประโยชน์ของการใช้สื่อสร้างสรรค์
         2.1 ช่วยให้ได้ประสบการณ์ที่เป็นจริง
         2.2 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ
         2.3 ช่วยสร้างความสนใจ ทัศนคติที่ดีของเด็ก
         2.4 ช่วยให้เรียนรู้ได้รวดเร็วและสนุกสนานเพลิดเพลิน
         2.5 ช่วยให้เด็กมีประสบการณ์ร่วมกัน ปรับตัวเข้าสังคม
         2.6 ช่วยให้เรียนได้มาก แต่ใช้เวลาน้อยลง
         2.7 ช่วยให้จำสิ่งที่เรียนได้นานและนำไปใช้ได้ดีกว่า
         2.8 ช่วยแสดงกรรมวิธีต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถอธิบายให้เห็น/เข้าใจได้ด้วยการบรรยายธรรมดา
         2.9 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน ทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
        3. ประโยชน์ของการใช้สื่อสร้างสรรค์ที่ส่งผลผู้สอน
         3.1 ช่วยให้บรรยากาศของการสอนน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้สอนมีความสนุกสนานในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว
         3.2 ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหา เพราะบางครั้งอาจให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
         3.3 ช่วยกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมตัวและผลิตวัสดุใหม่ๆเพื่อใช้เป็นสื่อ
   สรุป
     การใช้สื่อสร้างสรรค์หมายถึงสื่อการสอนที่ดีที่สามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ แนวคิด และทักษะในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน แต่การจะใช้สื่อการสอนสำหรับเด็ก ปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม กับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระ การสอนที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องให้เหมาะสมกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และจิตใจของเด็กปฐมวัย อกทั้งยังต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองให้มากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น